ค้นเจอ 478 รายการ

กรานกฐิน

หมายถึง[-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทำบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า กรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).

กัด

หมายถึง(โบ) น. พิกัด. ก. กะ เช่น ซ้นนกัดค่าพระราชกุมาร. (ม. คำหลวง กุมาร).

โมษกะ

หมายถึง[-สะ-] น. โจร, ขโมย. (ส.; ป. โมส, โมสก).

นาฏกะ

หมายถึง[นาตะกะ, นาดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส.).

กะลา

หมายถึงน. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคำไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สำ) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.

กะลา

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ปุดกะลา.

วาทกะ

หมายถึง[วาทะกะ] น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. (ส.).

ปีฬกะ

หมายถึง[-ละกะ] น. ฝี, ต่อม, ไฝ. (ป. ปีฬกา; ส. ปีฑกา).

ยานกะ

หมายถึง[-นะกะ] น. ยานพาหนะเล็ก ๆ. (ป., ส.).

โชตกะ

หมายถึง[โชตะกะ] น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. (ป.).

ดารกะ

หมายถึง[-ระกะ] (แบบ) น. ดาว, ดวงดาว. (ป., ส. ตารกา).

กะสมอ

หมายถึงก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอดหรือเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ