ค้นเจอ 17 รายการ

ได้ที่

หมายถึงก. ถึงที่เหมาะ, ถึงที่กะไว้, พอดี.

หน้าบาน

หมายถึงว. ทำหน้าแสดงอาการดีใจ เช่น เขาหน้าบานเพราะสอบได้ที่ ๑.

เลือกนักมักได้แร่

หมายถึง(สำ) ก. เลือกมากมักจะได้ที่ไม่ดี (มักใช้พูดตำหนิผู้เลือกคู่ครอง).

จำบ่ม

หมายถึงว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จำบ่ม เช่น มะม่วงจำบ่ม.

กระจกนูน

หมายถึงน. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวควํ่า สามารถสะท้อนแสงให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น.

สะลึมสะลือ

หมายถึงว. ครึ่งหลับครึ่งตื่นหรืองัวเงียเพราะเมาหรือง่วง เช่น พอเมาได้ที่ก็นั่งสะลึมสะลือ เมื่อคืนนอนดึก ตื่นขึ้นมาเลยสะลึมสะลือ.

สุดกู่

หมายถึงว. ไกลมากจนไม่ได้ยินเสียงกู่ เช่น เขาไปปลูกบ้านเสียจนสุดกู่, อยู่ท้าย ๆ เช่น สอบได้ที่สุดกู่ จอดรถไว้สุดกู่.

สุดท้ายปลายโต่ง

หมายถึง(ปาก) ว. หลังสุด, ท้ายสุด, (มักใช้ในเชิงตำหนิหรือเย้ยหยัน), เช่น ทำไมมาเสียสุดท้ายปลายโต่ง ไหนเคยคุยว่าเก่ง ทำไมถึงสอบได้ที่สุดท้ายปลายโต่ง.

เรี่ยม

หมายถึงว. สะอาด, หมดจด, เอี่ยมอ่อง, เช่น แต่งตัวเรี่ยม หน้าตาเรี่ยม ขัดพื้นเสียเรี่ยม; วิเศษ, ดีเยี่ยม, เช่น ถ้าสอบได้ที่ ๑ ก็เรี่ยม ได้บรรจุงานก็เรี่ยม.

เชื่อม

หมายถึงก. ทำของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย แล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.

ฉากบังเพลิง

หมายถึงน. ฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน ใช้สำหรับกั้นบังในเวลาเผาศพชั้นโกศเท่านั้น, ถ้าเป็นเมรุธรรมดาและเป็นศพข้าราชการ ใช้ลายเถาไม้, ถ้าเป็นพระศพพระราชวงศ์ ใช้ฉากรูปเทวดา.

น้ำสต๊อก

หมายถึงน. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผักต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ