ค้นเจอ 239 รายการ

สายดิ่ง

หมายถึงน. เชือกที่ปลายด้านหนึ่งผูกติดกับลูกดิ่งสำหรับวัดความลึกของน้ำหรือตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่, เชือกที่ผูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา.

รักร้อย

หมายถึงน. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ผูกเป็นลายกระจังตาอ้อยเรียงซ้อนเนื่องกันไปเป็นแถวยาว, เรียกสร้อยอ่อนประดับข้อมือ ทำด้วยทองลงยา มักผูกเป็นลายกระจังตาอ้อย บางทีก็ประดับพลอยด้วย ว่า สร้อยรักร้อย.

ไม้สามอัน

หมายถึงน. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้อันหนึ่ง เจ้ามือกำไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้.

เสาเกียด

หมายถึงน. ไม้ที่ปักขึ้นเป็นหลักกลางลาน สำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ, เกียด ก็ว่า.

โยชกะ

หมายถึง[โยชะกะ] ก. ผู้ทำการประกอบ, ผู้ใช้, ผู้ผูก, ผู้จัด, ผู้เตรียม. (ส.).

จะปิ้งเรือ

หมายถึงน. แผ่นโลหะโดยมากทำเป็นรูปดอกจัน สำหรับตรึงที่โคนห่วงร้อยโซ่ผูกเรือ.

โซ่

หมายถึงน. โลหะมีเหล็กเป็นต้นที่เกี่ยวกันเป็นข้อ ๆ เป็นสายยาวสำหรับผูกล่ามแทนเชือก.

คลัง

หมายถึง[คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสำหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ชำนาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.

ว่าว

หมายถึงน. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสายซุงสำหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.

หลัก

หมายถึงน. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดำรงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลักกฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.

ประพันธ์

หมายถึงก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคำเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).

ผูกขวัญ

หมายถึงก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ