ค้นเจอ 239 รายการ

เครื่องหลัง

หมายถึงน. สัมภาระที่ทหารหรือนักเดินทางเป็นต้นนำติดตัวไป โดยผูกรัดไว้ข้างหลัง.

พยาบาท

หมายถึง[พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า ผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไปพยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).

รัดทึบ

หมายถึงน. สายผูกอานล่ามรอบอกม้า มักทำด้วยผ้า.

คุมนุม

หมายถึง(โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).

บันกวด

หมายถึง(โบ) ก. รัด, ผูก, เช่น กรรณบันกวดพู่แก้ว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

กินปิ่นโต

หมายถึงก. ว่าจ้างให้ทำอาหารใส่ปิ่นโตส่งให้ตามที่ตกลงกัน, ผูกปิ่นโต ก็ว่า, (ปาก) ว่าปิ่นโต.

ขาทราย

หมายถึงน. ไม้ ๒ อันผูกหรือร้อยปลายให้อ้าออกเป็นง่ามสำหรับรับหรือคํ้าของ.

ขาหยั่ง

หมายถึง[-หฺยั่ง] น. ไม้ ๓ อันผูกปลายรวมกันและกางออกไป สำหรับตั้งหรือห้อยของต่าง ๆ.

ยูปะ

หมายถึงน. เสาที่ปักอยู่กลางโรงพิธีสำหรับผูกสัตว์ที่จะบูชายัญ. (ส.).

เชือกบาศ

หมายถึงน. เชือกที่ทำเป็นบ่วงผูกปลายไม้คันจามสำหรับคล้องเท้าช้าง.

เบ็ดราว

หมายถึงน. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.

คันโพง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับตักนํ้าหรือโพงนํ้า มีคันยาว ที่ปลายมีเชือกผูกโพงเพื่อช่วยผ่อนแรง; คันไม้ยาวใช้ผูกโพงสำหรับตักน้ำหรือโพงน้ำ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ