ค้นเจอ 239 รายการ

ทำเวร

หมายถึงก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทำงาน โดยเฉพาะทำความสะอาดห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทำเวรทำกรรม ก็ว่า.

เกียด

หมายถึงน. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.

ต๋ง

หมายถึงก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อนหลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.

ช้างยืนแท่น

หมายถึงน. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น.

โชงโลง

หมายถึงน. เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้.

ม่านสองไข

หมายถึงน. ม่าน ๒ ชายที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน สำหรับประดับช่องทางประตูหน้าต่างเป็นต้น.

จังกอบ

หมายถึง(โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.

กระพัตร

หมายถึง[-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.

เปลาะ,เปลาะ ๆ

หมายถึง[เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.

ทาม

หมายถึงน. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควายไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทำเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่, สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถหรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).

สักว่าว

หมายถึงก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.

หูกะพง

หมายถึงน. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก ใช้ผูกตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ