ค้นเจอ 104 รายการ

ผ้าไหว้

หมายถึงน. ผ้าที่ฝ่ายชายนำไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการเคารพในเวลาแต่งงาน.

อนุวัต

หมายถึงก. ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).

ลูกหลาน

หมายถึงน. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น; ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.

กริยาวิเศษณานุประโยค

หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.

ศราทธพรต

หมายถึง[สาดทะพฺรด] น. พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว. (ส. ศฺราทฺธ + วฺรต).

กาลานุกาล

หมายถึง(โบ) น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใดกาลหนึ่ง. (ป. กาล + อนุกาล).

เกลือเป็นหนอน

หมายถึง(สำ) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ, ไส้เป็นหนอน ก็ว่า.

ไส้เป็นหนอน

หมายถึง(สำ) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ, เกลือเป็นหนอน ก็ว่า.

สติวินัย

หมายถึงน. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).

นุ

หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

เสมอบ่าเสมอไหล่

หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า.

เทียมบ่าเทียมไหล่

หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเทียมบ่าเทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ