ค้นเจอ 478 รายการ

ปัจเจก,ปัจเจก-

หมายถึง[ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ-] (แบบ) ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น ปัจเจกชน. (ป.).

กฏุก-

หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).

อายุกตกะ,อายุตกะ

หมายถึง[-ยุกตะกะ, -ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).

เอกภาคี

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.

ปัญจก,ปัญจกะ

หมายถึง[ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).

ปิหกะ

หมายถึง[-หะกะ] น. ม้าม. (โบราณนิยมแปลว่า ไต).

กษัตรา

หมายถึง[กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือ พรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา).

ศกละ

หมายถึง[สะกะละ] น. ส่วน, ซีก. (ส.; ป. สกล).

อเนก,อเนก-

หมายถึง[อะเหฺนก, อะเหฺนกกะ-] ว. มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.).

ปัจเจกบุคคล

หมายถึง[ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน.

กษมา

หมายถึง[กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา).

เมลกะ

หมายถึง[เมละกะ] น. หมู่, ประชุม. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ