ตัวกรองผลการค้นหา
กรรมกรณ์
หมายถึง[กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
มอบ
หมายถึงก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.
ราชย์
หมายถึงน. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์. (ส.; ป. รชฺช).
บิตุ
หมายถึง(แบบ) น. พ่อ, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช. (ป. ปิตุ).
ราชวโรงการ
หมายถึง[-วะโรงกาน] น. คำสั่งของพระราชา. (ป. ราช + วร + ข. โองฺการ).
คราม
หมายถึง[คฺราม] น. บ้าน, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น ราชคราม. (ส.; ป. คาม).
บริราช
หมายถึง[บอริราด] ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. (ส. ปริราช).
สมภพ
หมายถึง[-พบ] น. การเกิด, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชสมภพ และ พระบรมราชสมภพ. (ป., ส. สมฺภว).
การัณย์
หมายถึง[การัน] น. กรณีย์, กิจ, เช่น ชี้แจงแถลงเรื่องการัณย์ ส่งคชสำคัญ ทั้งหมอแลควาญมาถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
ทราบฝ่าละอองพระบาท
หมายถึง(ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี).
บทเรศ
หมายถึง[บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
ว่าความ
หมายถึงก. (กฎ) ว่าต่างหรือแก้ต่างแทนคู่ความในคดี; (โบ) ชำระความ เช่น ท้าวมาลีวราชว่าความ.