ตัวกรองผลการค้นหา
สังขยา
หมายถึง[-ขะหฺยา] น. การนับ, การคำนวณ. (ป. สงฺขฺยา; ส. สํขฺยา).
หมายถึง[-ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทำด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และกะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
สังขารา
หมายถึงน. ชื่อทำนองเพลงไทย ใช้ขับร้องในการเล่นหุ่นกระบอก.
สังค,สังค-,สังค์
หมายถึง[สังคะ-, สัง] น. ความข้องอยู่, การติดอยู่. (ป.; ส. สํค).
สังคมนิยม
หมายถึง[สังคมมะ-, สังคม-] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มีหลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจนการจำแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
สังคหะ
หมายถึง(แบบ) น. การรวบรวม; การย่อ; ความเกื้อกูล, ความเอื้อเฟื้อ; การสงเคราะห์. (ป.; ส. สํคฺรห).
สังฆกรรม
หมายถึง[สังคะกำ] น. กิจที่พระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เช่น การทำอุโบสถ การสวดพระปาติโมกข์. (ส. สํฆ + กรฺมนฺ; ป. สงฺฆกมฺม).
สังฆเภท
หมายถึง[-เพด] น. การที่ภิกษุทำให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป, นับเป็นอนันตริยกรรมอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕. (ป.).
สังฆมณฑล
หมายถึง[-มนทน] น. วงการคณะสงฆ์.
สังฆานุสติ
หมายถึงน. การระลึกถึงคุณพระสงฆ์ เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง. (ป.).
สังโยชน์
หมายถึงน. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโชน; ส. สํโยชน).
สังวร
หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).