ค้นเจอ 112 รายการ

โหรดาจารย์

หมายถึง[โหระ-] น. พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอาราธนาเทพต่าง ๆ ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง. (ส. โหตฺฤ + อาจารฺย).

ข้าวสาก

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.

กระลา

หมายถึงน. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).

เทียนพรรษา

หมายถึงน. เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์บูชาพระตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา.

บูชายัญ

หมายถึงน. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา.

วาชเปยะ

หมายถึง[วาชะ-] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดียโบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะพราหมณ์. (ส.).

วิศาขบูชา

หมายถึงน. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. (ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).

ชินโต

หมายถึงน. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคำสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า.

บูชนียสถาน

หมายถึง[บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.

สตูป

หมายถึง[สะตูบ] (แบบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สดูป ก็ว่า. (ส.; ป. ถูป).

หาก

หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

ชปโยค

หมายถึง[ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ