ตัวกรองผลการค้นหา
ฎีกา เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ฏีกา เป็นคำที่เขียนผิด ❌
นพปฎล เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
นพปดล เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ปรากฏ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ปรากฎ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
โศกนาฏกรรม เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กฎกระทรวง
หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
กฎบัตรกฎหมาย
หมายถึง(ปาก) น. กระบวนกฎหมาย, เชิงกฎหมาย.
กฎมนเทียรบาล
หมายถึง(กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
กฎหมายพาณิชย์
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ ตั๋วเงิน หุ้นส่วน บริษัท. (อ. commercial law).
กฎหมายแพ่ง
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
กรกฎาคม
หมายถึง[กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
กฤษฎา,กฤษฎา,กฤษฎาภินิหาร
หมายถึง[กฺริดสะ-] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาภินิหาร เช่น เชิญชมชื่นกฤษฎา. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).