ค้นเจอ 77 รายการ

ตระสัก

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ว. งามสง่า; ไพเราะ.

ตระหนี่

หมายถึง[ตฺระหฺนี่] ว. หวงไม่อยากให้ง่าย ๆ เช่น ตระหนี่ทรัพย์ ตระหนี่ความรู้.

ตระกวน

หมายถึง[ตฺระ-] น. ผักบุ้ง. (ข. ตฺรกวน).

ตระกอง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. กอด, เกี่ยวพัน, กระกอง ก็ว่า. (ข. ตฺรกง).

ตระการ

หมายถึง[ตฺระ-] ว. งาม; ประหลาด, แปลก ๆ; หลาก, มีต่าง ๆ.

ตระกูลมูลชาติ

หมายถึง[-มูนชาด] (สำ) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.

ตระคัร

หมายถึง[ตฺระคัน] (แบบ) น. ไม้กฤษณา เช่น กฤษณาขาวและตระคัร ก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ป.; ส. ตคร).

ตระเชิญ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า เพลงตระเชิญ.

ตระแบก

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) น. ต้นตะแบก, กระแบก ก็เรียก.

ตระแบง

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. สะแบง, สะพาย, เช่น ตาวตระแบง.

ตระพอง

หมายถึง[ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.

ตระโมจ

หมายถึง[ตฺระโหฺมด] ว. ว้าเหว่, เปลี่ยวใจ, โดดเดี่ยว. (ข. สฺรโมจ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ