ค้นเจอ 105 รายการ

ข้าวสาก

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.

สนมเอก

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.

ข้าวประดับดิน

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและพระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙.

แว่นแคว้น

หมายถึงน. แผ่นดินซึ่งมีขอบเขตเป็นปริมณฑล เช่น แว่นแคว้นตะนาวศรี ฝ่ายเขาเล่าก็สามพารา เป็นใหญ่ในชวาแว่นแคว้น. (อิเหนา).

โภชนาการ

หมายถึง[โพชะนา-, โพดชะนา-] น. วิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต.

ตับเพลง

หมายถึงน. เพลงที่นำมารวมขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งเป็นเพลงที่อยู่ในอัตราเดียวกัน ชุดหนึ่งบรรเลงประมาณ ๓-๑๐ เพลง เช่น ตับลาวเจริญศรี.

พนัสบดี

หมายถึง[พะนัดสะบอดี] น. เจ้าป่า. (ส. วนสฺปติ หมายถึง ต้นโพ ต้นไทร และต้นมะเดื่อ; ป. วนปฺปติ).

ตระบอก

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส กลีบกล้ยง. (กำสรวล). (ข. ตฺรบก).

เสียรอย

หมายถึง(วรรณ) ก. ทำรอยให้หลงเข้าใจผิด เช่น แล้วเสียรอยถอยหลังลงสู่สระศรี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

ประวัติ,ประวัติ-

หมายถึง[ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติวัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).

ตยาคี

หมายถึง[ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).

กราสิก

หมายถึง[กฺรา-] (โบ; กลอน) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาสิก; ส. กาศิก).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ