ตัวกรองผลการค้นหา
กรมเกรียม
หมายถึงก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม. (กฤษณา).
กรรกศ
หมายถึง[กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
กรรเจียกจอน
หมายถึงน. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจำหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กรรเชียงปู
หมายถึง[กัน-] น. เรียกขาคู่สุดท้ายของปูในวงศ์ Portunidae เช่น ปูม้า ปูทะเล ซึ่งปล้องปลายมีลักษณะแบนคล้ายใบพาย, กระเชียงปู ก็เรียก.
กรรตุสัญญา
หมายถึง[กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).
กรรมการ
หมายถึง(โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).
กรรมวาจก
หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.
กรรเหิม
หมายถึง[กัน-] (โบ; กลอน) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
กรวม
หมายถึง[กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวมตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กำกวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
กรสานต์
หมายถึง[กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
กรสาปน,กรสาปน์
หมายถึง[กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทองร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชนทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คำหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
กร้อ
หมายถึงน. เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ เช่น ส่วนตัวมึงคือกร้อ แต่งไว้วิดเรือ. (โคลงกวี), สามัญเรียกว่า ตะกร้อ. (เทียบ ข. กฺรฬ ว่า ไห).