ค้นเจอ 265 รายการ

ลูกแหง่

หมายถึงน. ลูกควายตัวเล็ก ๆ เรียกตามเสียงที่มันร้อง, ลูกหม่อ หรือ ลูกกะแอ ก็ว่า; เด็กตัวเล็ก ๆ; (ปาก) เหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ; โดยปริยายหมายถึงคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้น หรือยังทำอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ.

ลูกอิจฉา

หมายถึงน. ลูกที่เกิดหลังจากพ่อแม่ได้ขอลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูก.

ลูกเอ็น,ลูกเอ็ล

หมายถึงดู กระวาน ๑ (๑).

ลูก

หมายถึงน. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน; เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา; เรียกสิ่งที่จะสืบเป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึงผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคำพยางค์เดียวอันอาจทำให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคำ ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด; เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดยอนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน; ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง ๕ ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.

ลูกกก

หมายถึงน. ลูกหัวปี.

ลูกกรุง

หมายถึงว. เรียกเพลงชนิดที่คนในกรุงหรือในเมืองนิยมว่า เพลงลูกกรุง.

ลูกกวาด

หมายถึงน. ของหวานทำด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออมให้ค่อย ๆ ละลายไปเอง.

ลูกกะจ๊อก,ลูกกะโล่,ลูกจ๊อก

หมายถึง(ปาก) น. ผู้ที่อ่อนแอสู้ใครไม่ได้.

ลูกกัลปพฤกษ์

หมายถึงน. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ข้างในสำหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.

ลูกขัด

หมายถึงน. อุปกรณ์สำหรับขัดหรือปัดเงาเครื่องโลหะ ทำด้วยผ้าซ้อนกันหลายชั้นเป็นรูปกลมคล้ายลูกล้อ มีรูตรงกลาง สวมเข้ากับแกนที่ต่อออกมาจากมอเตอร์.

ลูกข้าว

หมายถึงน. รวงข้าวที่เกิดออกจากตอต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว.

ลูกขุน ณ ศาลหลวง

หมายถึง(โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดีแล้วขอคำตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ