ค้นเจอ 1,117 รายการ

หมุบหมับ

หมายถึงว. อาการที่หยิบฉวยหรือกินโดยเร็ว เช่น แย่งกันกินหมุบหมับ, บางทีก็ใช้แยกกัน เช่นคว้าคนละหมุบคนละหมับ.

กาลิก

หมายถึงน. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่นํ้าอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).

กินบุญเก่า

หมายถึง(สำ) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).

กระเป๋า

หมายถึง(ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.

ประสมประสาน

หมายถึงก. ผสมผสาน, เก็บรวมไว้ทีละเล็กละน้อย, เก็บเล็กผสมน้อย.

ผสมผสาน

หมายถึงก. เก็บไว้ทีละเล็กทีละน้อย, เก็บเล็กผสมน้อย.

เด็ดดอกไม้ร่วมต้น

หมายถึง(สำ) ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.

กินน้ำเห็นปลิง

หมายถึง(สำ) ก. รู้สึกตะขิดตะขวงใจเหมือนจะกินนํ้าเห็นปลิงอยู่ในนํ้าก็กินไม่ลง.

น้ำมนต์,น้ำมนตร์

หมายถึงน. นํ้าที่เสกเพื่ออาบ กิน หรือ ประพรมเป็นต้น ถือกันว่าเป็นมงคล.

ผิดสำแดง,ผิดสำแลง

หมายถึงก. กินอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ.

พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

หมายถึง(สำ) ก. พอมีกินมีใช้, พอเลี้ยงตัวได้.

ภุกต,ภุกต-,ภุกต์

หมายถึง[พุกตะ-] ว. ซึ่งกินแล้ว, ซึ่งครองแล้ว. (ส.; ป. ภุตฺต).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ