ตัวกรองผลการค้นหา
ลดเลี้ยว
หมายถึงก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.
เลี้ยวลด
หมายถึงก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า.
ขจ่าง
หมายถึง[ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจำรัสศรี. (สรรพสิทธิ์).
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
หมายถึง(สำ) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
ศัพท์แสง
หมายถึง(ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.
อาจาร,อาจาร-
หมายถึง[-จาน, -จาระ-] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).
เยิ่นเย้อ
หมายถึงว. ยืดยาด, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, (โดยมากใช้แก่คำพูดหรือข้อความ) เช่น พูดจาเยิ่นเย้อ ข้อความเยิ่นเย้อ.
ชงฆ,ชงฆ-,ชงฆ์,ชงฆา
หมายถึง[ชงคะ-] (กลอน; แบบ) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. (ป. ชงฺฆ; ส. ชงฺฆา).
มุทคระ
หมายถึง[มุดคะระ] น. ไม้ค้อน. (ส. มุทฺคร; ป. มุคฺคร).
หงสคติ
หมายถึง[หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่า.
ชค,ชค-
หมายถึง[ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.).
เทวนาครี
หมายถึง[เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต.