ตัวกรองผลการค้นหา
อนวัช,อนวัช-
หมายถึง[อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).
ขมเป็นยา
หมายถึง(สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
ปรกติ
หมายถึง[ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
ดีพร
หมายถึง[ดีบ] (แบบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
ปากมาก
หมายถึงว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ), พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
วิพากษ์วิจารณ์
หมายถึงก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
หวานเป็นลม ขมเป็นยา
หมายถึง(สำ) น. คำชมมักไร้สาระทำให้ลืมตัวขาดสติ แต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด.
อนุสติ
หมายถึง[อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).
ซึมเศร้า
หมายถึงว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
เกียรติ,เกียรติ-,เกียรติ์
หมายถึง[เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
อุปปาติกะ
หมายถึง[อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
อุบัติ,อุบัติ-
หมายถึง[อุบัด, อุบัดติ-] น. การเกิดขึ้น, กำเนิด, การบังเกิด; รากเหง้า, เหตุ. ก. เกิด, เกิดขึ้น. (ป. อุปฺปตฺติ; ส. อุตฺปตฺติ).