ค้นเจอ 273 รายการ

ชัน

หมายถึงก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.

ซอก

หมายถึงน. ช่องทางที่แคบ ๆ เช่น ซอกเขา ซอกหู ซอกคอ. ก. ซุก, ซุกแทรกเข้าไป, ซ่อน.

ส้มตำ

หมายถึงน. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตำประสมกับเครื่องปรุงมี กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม.

เย็นหู

หมายถึงว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.

ขัดตา

หมายถึงก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.

พาน

หมายถึงว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).

ข้าวยาคู

หมายถึงน. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตำแล้วคั้นเอานํ้าตั้งไฟจนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ข้าวยาคูแห้ง.

ดิ่ว

หมายถึงว. แน่ว, ใช้ประกอบคำ ตรง ว่า ตรงดิ่ว เช่น ถนนสายนี้ตรงดิ่วสุดลูกหูลูกตา.

ยิน

หมายถึงก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.

อุบะ

หมายถึงน. เป็นดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายแล้วเข้าพวงอย่างพู่สำหรับห้อยกับมาลัย ห้อยระหว่างเฟื่อง หรือห้อยประดับข้างหูเป็นต้น.

ข้าวกล้อง

หมายถึงน. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.

หนวกหู

หมายถึงก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรำคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ