ตัวกรองผลการค้นหา
อัปฏิฆะ
หมายถึง[อับปะติคะ] ว. ไม่ระคายใจ, ไม่เคืองใจ, ไม่แค้นเคือง. (ป. อปฺปฏิฆ).
ประวัติศาสตร์
หมายถึง[ปฺระหฺวัดติสาด, ปฺระหฺวัดสาด] น. วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน.
วิญญัตติ
หมายถึง[วินยัดติ] น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน. (ป.; ส. วิชฺปฺติ).
ชาติพันธุ์วรรณนา
หมายถึง[ชาดติพันวันนะนา] น. ชาติพันธุ์วิทยาสาขาหนึ่งที่พรรณนาถึงวัฒนธรรมแบบต่าง ๆ. (อ. ethnography).
สยามานุสติ
หมายถึง[สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึงประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
สวัสติ,สวาตี
หมายถึง[สะหฺวัดติ, สะวาตี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้างพัง เหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม ก็เรียก. (ส. สฺวาติ).
ปฏิการ,ปฏิการ-,ปฏิการะ
หมายถึง[ปะติการะ-] น. การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ; การซ่อมแซม. (ป.).
มาติกา
หมายถึง[มาดติกา] น. บาลีที่เป็นแม่บท เช่น สวดมาติกา, แม่บท; เหมือง, ทางนํ้าไหล. (ป.; ส. มาตฺฤกา).
วิมุตติ
หมายถึง[วิมุด, วิมุดติ] น. ความหลุดพ้น; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.; ส. วิมุกฺติ).
ครหา
หมายถึง[คะระหา, คอระหา] ก. ติเตียน, ติโทษ. (ป., ส. คฺรหา).
ทุกพาย
หมายถึง(โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
พิกัติ
หมายถึงน. การทำให้เป็นหลายอย่าง, การกระทำให้แปลกออกไป, การประดิษฐ์ทำ. (ป. วิกติ; ส. วิกฺฤติ).