ค้นเจอ 147 รายการ

สยาม,สยาม-

หมายถึง[สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.

วันเฉลิมพระชนมพรรษา

หมายถึงน. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.

จตุลังคบาท

หมายถึง[จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.

ราชหัตถเลขา

หมายถึง[ราดชะหัดถะเลขา] (ราชา) น. จดหมาย (ใช้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง) ใช้ว่า พระราชหัตถเลขา. (ป.).

โคราช

หมายถึงน. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทำนองตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คำ ๓ คำกลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัสในการเล่นคำเล่นความให้สละสลวย บาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.

มหาดเล็ก

หมายถึงน. ข้าราชการในพระราชสำนักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจำเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์.

ลีลา

หมายถึงน. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).

สัมผัสใน

หมายถึงน. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มิได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา. (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวมถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).

กุสุมวิจิตร

หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).

อรหันตฆาต

หมายถึงน. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุดอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป.).

ชุมสาย

หมายถึงน. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย ว่า พระที่นั่งชุมสาย.

อสีตยานุพยัญชนะ

หมายถึง[อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็นพระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ด้วยลักษณะสำคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอยพระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ