ตัวกรองผลการค้นหา
มหกรรม
หมายถึง[มะหะกำ] น. การฉลอง, การบูชา. (ป. มหกมฺม).
ราชธรรม
หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
วินาศกรรม
หมายถึง[วินาดสะกำ] น. การลอบทำลายหรือเผาผลาญทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อตัดกำลังฝ่ายศัตรูเมื่อทำสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.
วิสสุกรรม
หมายถึงน. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
ศาลสถิตยุติธรรม
หมายถึง(กฎ; โบ) น. เป็นคำรวมที่ใช้เรียกศาลยุติธรรมทั้งปวง.
สรม
หมายถึง[สฺรม] ก. ขอ, มักใช้ว่า สรวม. (ข. สูม). ว. พร้อม.
สหธรรม
หมายถึงน. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน.
สังขตธรรม
หมายถึงน. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น. (ป. สงฺขต + ส. ธรฺม).
สิ้นกรรม,สิ้นกรรมสิ้นเวร,สิ้นเวร,สิ้นเวรสิ้นกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวรสิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
อธรรม
หมายถึง[อะทำ] ว. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. น. ความไม่มีธรรม, ความชั่วร้าย. (ส.).
อนารยธรรม
หมายถึงน. ความตํ่าช้า, ความป่าเถื่อน.
อปจายนธรรม
หมายถึงน. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม, การถ่อมตน. (ป. อปจายนธมฺม).